ศรีสุดา อุปเวช (สวยมั้ยค่ะ)

ศรีสุดา อุปเวช (สวยมั้ยค่ะ)

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ : นางสาวศรีสุดา อุปเวช
ชื่อเล่น : อ้อม
เกิดวันที่ : 29 มิถุนายน 2528 (ปีฉลู)
อายุ : 25 ปี
ภูมิลำเนา : จังหวัดระยอง
ที่อยู่ปัจจุบัน : 320/2 หมู่ 3 ต.มะขามคู่ อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง 21180
จบ ปวส. จาก : วิทยาลัยเทคนิคระยอง สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ปัจจุบันศึกษา : ระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
สถานที่ทำงาน : บริษัท โตไก อิสเทริ์น รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ตำแหน่ง : ธุรการแผนกวิศวกรรม
เบอร์โทรศัพท์ : 084-1496293
E-Mail : a.srisuda@ter.co.th, srisuda.aom@gmail.com


การบ้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บทที่ 1,2,3

คำถามท้ายบทที่ 2

อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
- อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่
แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) แทร็กบอล (Track Ball) จอยสติก (Joy Stick) เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner ) เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง(Optical Character Reader: OCR)เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) ปากกาแสง (Light Pen) จอสัมผัส (Touch Screens) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) ไมโครโฟน (Microphone)

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
- อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผลโดยมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนควบคุม (Control Unit) และส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ(Arithmetic and Logic Unit) ซึ่งทำหน้าที่ ดังนี้
หน่วยควบคุม (Control Unit) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างรวมทั้งตัวเองด้วย ให้เป็นไปตามคำสั่ง เช่น ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลอ่านข้อมูลเข้าหรือให้หน่วยคำนวณ ทำการคำนวณ โดยคำสั่งนั้นจะได้รับจากหน่วยความจำและหน่วยควบคุมจะแปลความหมายแล้วส่งคำสั่งนั้นไปให้หน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายในส่วนควบคุมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ Address Word เป็นส่วนที่จะเก็บตำแหน่งของคำสั่งที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ CPUสามารถติดต่อกับคำสั่งเหล่านี้ได้ Instruction Word เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งที่หน่วยควบคุมใช้ในการจัดการ ในชุดของชุดของคำสั่งนี้จะมีรายละเอียดที่กำหนดขั้นตอนและขอบเขต การทำงานของหน่วยควบคุมภายใต้ชุดสั่งนั้นๆ จะมีชุดของคำสั่งที่จะกำหนดรายละเอียดของการทำงานของส่วนอื่นต่อไป CPU ที่แตกต่างกันจะมี Instruction Set ที่แตกต่างกัน หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmatic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่สำหรับการคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตลอดทั้งการเปรียบเทียบข้อมูล เช่น เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า รวมทั้งการประมวลอื่น ๆ ซึ่งจะกำหนด โดยคำสั่งจากหน่วยควบคุมภายในหน่วยคำนวณและเปรียบเทียบจะประกอบด้วยส่วนย่อยๆ เรียกว่า Register ที่ทำหน้าที่เหมือนหน่วยความจำชั่วคราวที่เก็บค่าและข้อมูลต่าง ที่นำมาคำนวณหรือประมวลผล


อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
- อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้
1.จอภาพ (Monitor)
2. เครื่องพิมพ์ (Printer)
2.1 เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ : เครื่องพิมพ์แบบเรียงจุดเครื่องพิมพ์อักษรคุณภาพ เครื่องพิมพ์แบบลูกโซ่เครื่องพิมพ์แบบใช้ดรัม
2.2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ : เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกเครื่องพิมพ์แบบใช้แสงเลเซอร์
3.เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์
4.เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ลำโพง


คำถามท้ายบทที่ 3

ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง
- ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ
1.ข้อมูล 2. การจัดเก็บ 3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล4. การประมวลผล 5. สารสนเทศ

ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล
- การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ เป็นวิธีการที่ใช้กับข้อมูลไม่มากนัก
การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ เป็นการประมวลผลข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนการทำงานสะดวก ถูกต้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เหมาะที่จะใช้เกี่ยวกับ งานการเงิน สถิติและงานบัญชี เป็นต้น

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
- ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล 2. ขั้นตอนการประมวลผล 3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์

หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
- การมองข้อมูลของคอมพิวเตอร์ บิท (Bit) คือค่าที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์รู้จัก

จงเรียงลำดับโครงสร้างขอ้มูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่
- การมองข้อมูลของผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์มองข้อมูลในลักษณะบิทและไบต์ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ผู้ใช้งานมองข้อมูลในลักษณะโครงสร้างข้อมูลดังนี้
1. ตัวอักขระ(Character) 2 .เขตข้อมูล(field)หรือ รายการ(Item) 3. ระเบียน(Record) 4. แฟ้มข้อมูล(File)


คำถามท้ายบทที่ 4

สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
- ข้อดี คือ 1. ราคาถูก มีสายขายโดยทั่วไป ข้อเสีย คือ Impulse Noise เกิดจากมีสัญญาณรบกวนที่มีพลังงานสูงมารบกวนสัญญาณข้อมูล เช่น ขณะดูโทรทัศน์เมื่อมีฝนฟ้าคะนองสัญญาณภาพจะไม่ชัดเจน
2. Thermal Noise เกิดมีความร้อนเกิดขึ้นในสายส่งข้อมูล เนื่องจากใช้สายไปนาน ๆ อิเล็กตรอนเคลื่อนผ่านลวดทองแดง ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและความร้อนมารบกวนสัญญาณข้อมูล
3. Attenuation เกิดสัญญาณข้อมูลอ่อนกำลังลงเพราะส่งไปในระยะทางไกลทำให้สัญญาณสูญเสียรูปร่างเดิม
4. Cross Talk เกิดจากมีสายส่งสัญญาณหลายเส้นส่งสัญญาณไฟฟ้ามารบกวนกับสายส่งข้างเคียงเนื่องจากใช้สายคุณภาพไม่ดี หรือไม่มีฉนวนหุ้มสายส่ง เช่น เหตุการณ์เมื่อคุยโทรศัพท์และมีสายซ้อน
5. Delay Distortion เนื่องจากองค์ประกอบย่อยสัญญาณที่มีความถี่ต่างกันเคลื่อนที่เร็วไม่เท่ากัน เมื่อเดินทางถึงปลายทางแล้วมาเร็วช้าไม่เท่ากันบางสัญญาณมาช้าทำให้สัญญาณองค์ประกอบย่อยเสียรูปร่างไป
6. Media Failure สายส่งอาจขาดหรือชำรุด

สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
- ข้อดี คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
- ข้อเสีย มีราคาสูง ถ้าดินฟ้าอากาศปิดหรือมีเมฆมากก้อจะรับสัญญาณไม่ได้หรือไม่มีคุณภาพ

PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย
- ระบบเครือข่ายPan เครือข่าย ส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN)PANPAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN) คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group
ข้อดี-ข้อเสียของ Personal Area Network (PAN)ข้อดีคือ
1. สะดวกต่อการใช้งาน
2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. มีการรับรองเครือข่าย
4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้ข้อเสีย คือ1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร2. การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้3. ติดไวรัสได้ง่าย4. ราคาแพง SAN (Storage Area Network) SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบ ท่านสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ SAN ให้ความสะดวกแก่ท่านในการจัดรูปแบบของการวางอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการมุ่งเน้นเรื่องของการเชื่อมต่อ ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 3 อย่างนี้ SAN สามารถแก้หรือลดปัญหาความล่าช้าที่มาจากการตอบสนองการร้องขอข้อมูลจากไคลเอนต์บนเครือข่ายได้เป็นอย่างมาก ช่วยให้ไคลเอนต์บนเครือข่ายได้รับข้อมูลจากอุปกรณ์จัดเก็บในปริมาณสูงต่อครั้ง ช่วยลดเวลาการประมวลผลของไคลเอนต์ รวมทั้งให้การสนับสนุนการทำ Backup ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถทำสำรองข้อมูลที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์ข้อมูลได้จำนวนมากด้วยขนาดที่ไม่จำกัดระยะทาง ด้วยการเชื่อมต่อทางสายใยแก้วนำแสงจะช่วยให้ท่านสามารถวางแผนการทำสำรองข้อมูล หรือโยกย้ายถ่ายเทข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่อยู่ห่างไกลกันมาก ในกรณีที่เกิดปัญหาทางภัยจากธรรมชาติ เนื่องจาก SAN มิใช่ระบบฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่เป็นระบบควบคุมดูแลการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ไปยุ่งกับการจัด Configure ของระบบแลน ดังนั้นมันจึงให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการทุกประเภท ทุกแบบ และสามารถให้บริการ ไม่เกี่ยงแม้กระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาบนระบบแลนไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับเมนเฟรม ความเข้าใจเกี่ยวกับ SAN 1. SAN ไม่ใช่ระบบจัดเก็บข้อมูลภายในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ SAN จะติดตั้งอยู่หลังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่อยู่ภายในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะ มีความจุเท่าใด หรือบนเครือข่ายจะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์กี่ตัว ยังไม่ถือว่าเป็นระบบ SAN ระบบ SAN เป็นระบบที่สามารถขยายขีดความสามารถ รวมทั้งขอบข่ายการทำงานที่สูง เนื่องจากในทางทฤษฎีแล้ว SAN สามารถรองรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้นับพัน แต่จะมีข้อจำกัดที่จำนวนพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ของฮับ และ สวิตซ์ รวมทั้งเงินทุนในการจัดทำระบบ 2. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อตรงกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครือข่าย การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรง ยังมีปัญหาในเรื่องขีดจำกัดของ SCSI Adapter หรือ อินเทอร์เฟสของระบบ SCSI ที่ใช้ รวมทั้งแอดเดรสที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีให้ นอกจากนี้การที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทำงานภายใต้ระบบ SCSI และถูกติดตั้งไว้บนระบบแลน จะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพเกิดขึ้น เนื่องจาก workstation ต่างๆบนแลน จะต้องเข้ามาขอแบ่งใช้งานแบนด์วิดธ์ของระบบแลนที่มีอยู่ ทำให้การทำงานช้าลง

การบ้านวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต

1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงานทั้งภาครัฐ และ เอกชน รวมถึงเป็นสื่อในการเรียนการสอน ซึ่งจากเดิมเราใช้การเขียนด้วยมือหรือปากกา
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ตัวอย่าง เช่น การตัดเกรดของนักเรียน นักศึกษา หรือพนักงานบริษัทฯ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น โทรศัพท์, โทรสาร, โทรทัศน์ และตู้เอทีเอ็ม ซึ่งปัจจุบันบุคคลส่วนมากใช้ตู้เอทีเอ็มในการกดเงินหรือถอนเงินรวมถึงการฝากเงิน ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน ตัวอย่าง เช่น สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นคะแนนสอบแต่ละวิชา, ราคาสินค้า, จำนวนนักเรียนในโรงเรียน, เพศ
ฐานความรู้ (Knowledge base) หมายถึง สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ ตัวอย่าง เช่น ห้องสมุดสาธารณะ ที่มีการรวบรวมศูนย์การจัดเก็บสารสนเทศข้อมูลการอ่านทักษะในด้านต่างหรือประสบการณ์ เป็นต้น

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบ การประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ตัวอย่าง เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง การประมวลผลบัญชี เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศจึงเป็นรายการทั้งสิ้น
2. ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน (Operation control) ตัวอย่าง เช่น การสรุปปริมาณการใช้น้ำประจำเดือน หรือการใช้คอมพิวเตอร์คำนวน OT ประจำสัปดาห์ เพื่อนำไปสรุปเป็นข้อมูลคีย์ตารางกะพนักงานประจำเดือนเพื่อเก็บข้อบันทึกข้อมูลไว้
3. ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ (Management control) ตัวอย่าง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์รวบรวมสรุปข้อมูลการใช้งบประมาณค่าใช้จ่าย (Budget) ประจำแผนก ซึ่งวางแผนระยะสั้นรอบ 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อระดับจัดการสรุปและนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาการตัดสินใจดำเนินการต่อไป
4. ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planing) ตัวอย่าง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์จัดทำนโยบายบริษัทฯ (Policy) ซึ่งข้อมูลจะต้องวางแผนระยะยาวร่วมจัดทำกับระดับจัดการและกำหนดกลยุทธ์จุดแข็งจุดอ่อนของบริษัทเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจ

3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1. ยุคการประมวลผลข้อมูล (Data processing era) เป็นยุคแรกๆ ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง ตัวอย่าง เช่น การประมวลผลข้อมูลของการคำนวนเครื่องจักรเสียหยุดซ่อมหรือรายละเอียดสาเหตุการแก้ไขที่เครื่องจักรหยุดเพื่อบันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ สะดวก รวดเร็ว ในการใช้งาน
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management information system : MIS) เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจดำเนินการควบคุมติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร ตัวอย่าง เช่น การจัดทำระบบ TPS เป็นระบบสนับสนุนในการตัดสินใจ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การ เพราะเป็นระบบที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักขององค์การ การควบคุม การเก็บ การบันทึก การประมวลผล และยังแจกจ่ายข้อมูลไปยังระบบงานประยุกต์อื่นๆ ต่าง ๆ เช่น การจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ การเรียกเก็บเงินลูกค้า การเตรียมบัญชีเงินเดือน หรือการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า
3. ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information resource management system : IRMS) เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความจริง ตัวอย่าง เช่น การจัดหา การจัดงาน การปฏิบัติการ การบริการ การประเมินผล เช่น การประเมินผล หัวหน้างานหรือระดับจัดการ มีหน้าที่ต้องประเมินผลการทำงานตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วพิจารณาว่า ภารกิจใดมีข้อบกพร่องที่จะต้องแก้ไข ก็ให้เร่งหาทางแก้ไขให้ดีขึ้น จัดทำรายงานของผลงานเสนอผู้บริหาร
4. ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology era) ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ๆ ของสินค้าและบริการรวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศโดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ ตัวอย่าง เช่น ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ หรือระบบการลงทะเบียนของนักศึกษา เป็นต้น

กิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการค่ะ

กิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการค่ะ
เรียงแถวหน้ากระดานโชว์ความสวยงามค่ะ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย โดยปกติอินซูลิน มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานของร่างกาย สาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานยังไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ พันธุกรรม และแบบแผนการดำเนินชีวิต ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ตาบอด หรือมีการทำลายของเส้นประสาท

อาการ
ปัสสาวะจะบ่อยมากขึ้นถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลง อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน เห็นภาพไม่ชัด ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา อาเจียน

สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่นอนแต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใด
มีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้


คำแนะนำ
1. รับประทานอาหารให้ถูกต้องตามที่กำหนดให้ และรู้จักวิธีใช้อาหารที่สามารถทดแทนกันได้
2. ใช้อินซูลิน หรือยาเม็ดให้ถูกต้องตามเวลา
3. ระวังรักษาสุขภาพอย่าตรากตรำเกินไป
4. รักษาร่างกายให้สะอาด และระวังอย่าให้เกิดบาดแผล
5. หมั่นตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ
6. ออกกำลังกายแต่พอควรสม่ำเสมอ
7. ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย ตกใจ หวิวใจสั่น เหงื่อออก หรือมีอาการปวดศรีษะตามัว ให้รับประทานน้ำหวาน หรือน้ำตาลเข้าทันที ทั้งนี้เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เพียงพอกับยา แต่ถ้าได้รับประทานอาหารที่น้ำตาล มากเกินไปและได้อินซูลินหรือยาน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงผิวหนังร้อนผ่าว คลื่นไส้ อาเจียน หายใจมี กลิ่นคล้ายผลไม้ ถ้าทิ้วไว้อาจทำให้ไม่รู้สึกตัว ต้องรีบตามแพทย์ทันที
8. ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีบัตรบ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน และกำลังรักษาด้วยยาชนิดใดอยู่เสมอ และควรมีขนมติดตัวไว้ด้วย
9. อย่าปล่วยตัวให้อ้วนเพราะ 80% ของผู้ป่วยโรคนี้เกิดจากการอ้วนมาก่อน
10. อย่าวิตกกังวลหรือเครียดมากเกินไป
11. เบาหวานเป็นกรรมพันธุ์ได้ หากสงสัยว่าเป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจเลือดจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
12. ต้องระมัดระวัง เมื่ออายุเกิน 40 ปี ควรตรวจเลือดดูเบาหวานทุกปีเพราะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย


บทกลอน

แม้ไม่ได้เจอกันทุกวัน แม้ไม่ได้เห็นหน้ากันทุกคืน

แต่มิตรภาพที่หยิบยื่น คือความพอดีของความผูกพัน

กับวันเวลาที่ผ่านมา ช่วยทำให้เรารู้ซึ้งว่า "เพื่อน" มีค่าแค่ไหน

แม้วันเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป แต่ความรู้สึกดีดีในใจ จะคงอยู่ตลอดไป ไม่มีลืม


ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ